Monday, March 13, 2017

สื่อไทย...กับการใช้ภาษา



สื่อไทย...กับการใช้ภาษา
        ผู้เขียนเฝ้าสังเกตการใช้คำของสื่อมาเป็นเวลานานหลายปี นึกว่าจะมีการแก้ไข แต่เวลาผ่านไปก็ยังเหมือนเดิม ทำให้เกิดการใช้คำที่ผิด ๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนขอยกตัวอย่างสักเล็กน้อย


        คำว่า “อรหันต์” คำนี้ต้องถือว่าเป็นคำสูง เป็นของสูง เพราะหมายถึง ท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนสามารถขจัดอาสวะกิเลส ออกไปจากใจได้ เป็นผู้มีความบริสุทธิ์อย่างเต็มเปี่ยม

        แต่สื่อทั้งหลายมักจะเอาไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ในทางการเมือง หากมีจำนวนคนที่ออกมาเคลื่อนไหวอะไรสักอย่างก็จะบอกว่า กลุ่ม...อรหันต์ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง


        หรืออย่างคำว่า “18 มงกุฏ” หากใครถูกเรียกอย่างนี้ รับรองได้ว่า เสียหายแน่นอน เพราะเราจะเข้าใจทันทีว่า นี่คือ พวกต้มตุ๋น หลอกลวง ทั้งที่ความจริงแล้ว 18 มงกุฏนี้ คือ ลิงที่เป็นทหารเอกของพระราม 18 ตัว เลยทำให้เกิดการใช้ที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงไป


        มาวันนี้ผู้เขียนก็พบอีกคำหนึ่ง คือ คำว่า “เอก”

        คำนี้ แท้จริงจะใช้ในความหมายว่า ดี เลิศ สุดยอด ยอดเยี่ยม เช่น ท่านสุนทรภู่กวีเอก ก็หมายถึง กวีผู้เป็นเลิศ นักพูดที่เก่ง ๆ เขาก็เรียก นักพูดฝีปากเอก เป็นต้น


        ผู้เขียนได้พบสื่อหลายฉบับชอบใช้คำนี้กับคุณมโน ว่า เป็นศิษย์เอกวัดพระธรรมกาย จึงได้สอบถามกับสาธุชนหลายท่าน ด้วยคำถามว่า

“คุณคิดว่าอย่างไรกับการที่สื่อเรียกคุณมโนว่าศิษย์เอก”

คำตอบก็มีหลากหลาย เช่น

"คนที่เนรคุณครูบาอาจารย์จะเรียกศิษย์เอกได้หรือคะ"

"อืม คนที่โกหกไฟแลบงี้ คงไม่ใช่มังคะ"

    "โอ๊ย หากคนยังงี้เรียกว่า เป็นศิษย์เอก แล้วพวกลูกศิษย์ดี ๆ จะเรียกว่าอะไรหล่ะครับ"

ฯลฯ

     โดยสรุป ไม่มีใครเห็นด้วยเลยสักคนว่า กรณีนี้จะเรียกได้ว่าเป็นศิษย์เอก

      ก็หวังว่าสื่อทั้งหลายจะรับไปพิจารณา แล้วเลือกใช้คำให้ถูกสำหรับท่านนี้ด้วยนะครับ คนรุ่นหลังเขาจะได้ใช้คำให้ถูก 

      มิฉะนั้นต่อไปภายหน้า เดี๋ยวจะเรียกคนที่อกตัญญู เนรคุณว่า เป็น “เอก” กันหมด




อนาคาริก
03/14/17

3 comments:

  1. บอกให้ชาวโลกได้รู้ความจริงครับ

    ReplyDelete
  2. เอกทั้งที ให้ดีสมคำหน่อยเต๊อะ

    ReplyDelete